ประเทศไทย เตรียมเสนอรายงานการจัดทำบัญชีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Paris Rulebook) รายงานต่อที่ประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 23 (COP 23) ในเดือนพฤศจิกายนนี้ พร้อมรายงานความคืบหน้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของทยให้ได้ร้อยละ 20-25 ภายในปี 2573 ตามความตกลงปารีส (Paris Agreement)
นางรวีวรรณ ภูริเดช เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) กล่าวถึงผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2560 ที่มี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ ว่า ที่ประชุมฯ มีมติเห็นชอบการจัดทำบัญชีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Paris Rulebook) ที่จัดทำเสร็จสมบูรณ์แล้ว ซึ่งการประชุมในรอบ 2 ปี ระหว่าง COP 23-24 มีความสำคัญมาก เนื่องจากการประชุม COP 24 ในปี 2018 ทุกประเทศต้องทำ Paris Rulebook เพื่อจัดทำกฎเกณฑ์กติกาต่างๆให้เป็นผลสำเร็จภายในปี 2561 รองรับการปฏิบัติตามความตกลงปารีส (Paris Agreement) เพราะในความตกลงปารีสไม่ได้มีข้อบัญญัติเรื่องบทลงโทษใดๆไว้ แต่กลไกภาพรวมที่ออกแบบไว้จะมีผลกระตุ้น ส่งเสริม และสร้างแรงผลักดันให้ประเทศภาคีดำเนินงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของความ ตกลงปารีส คือ การทบทวนและเสนอกติกาการทบทวนและส่งเป้าหมายการมีส่วนร่วมของแต่ละประเทศใน การแก้ไขปัญหาโลกร้อน (NDCs) ทุก 5 ปี โดยเป้าหมายเสนอใหม่ต้องมีความก้าวหน้าและสะท้อนความพยายามในระดับสูงสุด // การนำเสนอรายงานติดตามประเมินผลการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว อย่างโปร่งใส // การกำหนดมาตรการดำเนินงานภายในประเทศภาคี // การประเมินสถานการณ์ดำเนินงานระดับโลก (Global Stocktake) ทุก 5 ปี // การจัดทำรายงานทางวิทยาศาสตร์ของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ( IPCC) จากการเจรจาที่ผ่านมา รายงานของ IPCC ช่วงปี 2007 คือ IPCC จัดทำรายงานการประเมินสถานการณ์สภาพภูมิอากาศ (Fourth Assessment Report ) มีผลสำคัญต่อการนำไปสู่มติการประชุม COP13 ที่เกาะบาหลี อินโดนีเซีย ที่กำหนดให้มีการจัดทำ Bali Roadmap และข้อเรียกร้องให้ประเทศกำลังพัฒนามีส่วนร่วมรับผิดชอบมากขึ้นต่อการลดการ ปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่สำคัญมีความเป็นไปได้สูงว่าประเทศที่พัฒนาแล้วจะกำหนดมาตรการทางการค้า ที่เชื่อมโยงกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น ทำให้มาตรการเหล่านั้นจะส่งผ่านมาถึงประเทศไทยและประเทศกำลังพัฒนาที่เป็น คู่ค้าในที่สุดโดยจะรายงานต่อที่ประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่า ด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 23 (COP 23 อ่าน คอบ) ในเดือนพฤศจิกายนนี้ ณ กรุงบอนน์ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี รวมทั้ง รายงานความคืบหน้าขับเคลื่อนการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยให้ ได้ร้อยละ 20-25 ภายในปี 2573 ตามความตกลงปารีส (Paris Agreement) ด้วยการร่วมกับประชาคมโลกลดก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการผลิตทุกภาคส่วน